เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับของสมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย
หมวดที่ 1 ความทั่วไป
ข้อ 1
สมาคม นี้มีชื่อ
ชื่อเต็มภาษาไทยว่า “สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย”
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า “Perinatal Society of Thailand”
ชื่อย่อภาษาไทยว่า “สวปก.”
ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “PST”
ในข้อบังคับนี้ “สมาคม” หมายความว่า “สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย”
“คณะกรรมการ” หมายความว่า “คณะกรรมการบริหารสมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย”
ข้อ 2
เครื่องหมายและตราของสมาคม มีลักษณะเป็น
รูปทารกในครรภ์อยู่ในลักษณะคู้ตัวอยู่ในครรภ์มีสายสะดือจากตัวทารกไปสู่รกที่อยู่ด้านซ้าย
รูปเครื่องหมายสมาคม มีลักษณะดังนี้
ข้อ 3
สำนักงานใหญ่ของสมาคม ตั้งอยู่ ณ อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 9
เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย 2 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศัพท์ 0 2716 6632 – 3 โทรสาร 0 2716 5220
e-mail : thaiperinatal@hotmail.com
website : www.thaiperinatal.com
หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์
ข้อ 4
วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ
4.1 ส่งเสริมศิลปะวิทยาการการวิจัยและการฝึกอบรมทางเวชศาสตร์ ปริกำเนิดในประเทศไทย
4.2 ส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิการของมารดา ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดในประเทศไทย
4.3 ติดต่อประสานงาน ให้คำแนะนำทางวิชาการ ส่งเสริมความร่วมมือและสัมพันธภาพที่ดีกับ
องค์กรหรือกลุ่มวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์ปริกำเนิดในประเทศไทยและต่างประเทศ
4.4 ไม่ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวกับการเมือง และไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหากำไรมาแบ่งปันกันแต่ อย่างใด
หมวดที่ 3 สมาชิก
ข้อ 5
สมาชิก
5.1 ประเภทสมาชิกมี 4 ประเภท
      ก. สามัญ ได้แก่ บุคคลซึ่งมีปริญญาแพทย์ หรือพยาบาล และได้ปฏิบัตงานทางเวชศาสตร์ มารดาและทารกในครรภ์ ในห้องคลอด ในห้องทารกแรกคลอด และทางเวชศาสตร์ ปริกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบโรคศิลป์ ผู้สอน ผู้วิจัย หรือผู้ปฏิบัติงานด้านอนามัย มารดาและทารก มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งคณะกรรมการ เห็นสมควร
      ข. วิสามัญ ได้แก่ บุคคลที่มีปริญญาแพทย์หรือพยาบาล หรือ ประกาศนียบ แพทย์ หรือพยาบาล ซึ่งปฏิบัติงานในสาขาอื่น หรือบุคคลอื่นใดที่ได้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านสูติศาสตร์ หรือด้านเวชศาสตร์ปริกำเนิด โดยด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ หรือด้าน เวชศาสตร์ทารกแรกเกิด ซึ่งคณะกรรมการ เห็นสมควร สมัครสมาชิกพร้อมหลักฐาน มีผู้รับรอง หรือมีผู้เสนอ
      ค. กิตติมศักดิ์ ผู้ทรงเกียรติ ผู้มีอุปการคุณต่อสมาคม ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยคณะกรรมการ เชิญ
5.2 สมาชิกสามญั จะตอ้ งประกอบดว้ ยคุณสมบัติดัง ต่อไปนี้
      5.2.1 เป็นผู้มีผลงานทางด้านเวชศาสตร์ปริกําเนิด หรือเกี่ยวข้องกับงานเวชศาสตร์ปริกำเนิดตามเกณฑ์
      5.2.2 เป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
      5.2.3 ไม่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด หรือหลังเป็นสมาช ิกว่าให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผ ฐานประมาท หรือ ลหุโทษ การต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด ในกรณีดังกล่าว จะต้องเป็นขณะที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือในระหว่างที่เป็นสมาชิกของสมาคม เท่านั้น
5.3 ระเบียบการรับเขา้เป็นสมาชิก
      5.3.1 ค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงสมาคม และค่าอื่นๆ
             5.3.1.1 สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ จะต้องเสียค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงสมาคม และค่าอื่นๆตามระเบียบที่สมาคมกำหนด
             5.3.1.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ มิต้องเสียค่าลงทะเบียนค่าบำรุงสมาคม และค่าอื่นๆ
      5.3.2 ยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคม ต่อเลขาธิการ โดยมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย 1 คน ให้เลขาธิการนำใบสมัครและหนังสือคัดค้านของสมาชิก (ถ้ามี) เสนอ
      5.3.3 ถ้าคณะกรรมการ พิจารณาอนุมัติให้รับสมัครเข้าเป็นสมาชิก ให้ผู้สมัครนั้นชำระเงิน ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง จากเลขาธิการ และสมาชิกภาพของผู้สมัคร
      5.3.4 สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ให้เริ่มนับตั้ง แต่วันที่หนังสือตอบรับเข้าเป็นสมาชิก ของผู้ที่คณะกรรมการ ได้พิจารณาลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ได้มาถึงยังสมาคม
หมวดที่ 4 สิทธิหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ 6
สิทธิและหน้าที่สมาชิก
6.1 สิทธิเสมอภาคในร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสมาคม และใช้เครื่องหมายของสมาคม ภายใน ขอบเขตของวัตถุประสงค์ และระเบียบของสมาคม
6.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการ หรือต่อที่ประชุมใหญ่
6.3 มีสิทธิขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบ เอกสาร สมาชิก ทะเบียน บัญชี หรือทรัพย์สินของสมาคม ได้ในเวลาอันควร
6.4 มีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ในที่ประชุมใหญ่ ทั้งสามัญ และวิสามัญ และการประชุมวิชาการ มี สิทธิออกเสียงลงคะแนน คนละ 1 คะแนน โดยที่ตนเองต้องอยู่ในที่ประชุมด้วย
6.5 สมาชิกเปลี่ยน ชื่อ ชื่อสกุล เลื่อนยศ ย้ายที่ทำงานหรือที่อยู่อาศัย ต้องแจ้งให้เลขาธิการทราบ เป็นลายลักษณ์อักษร
6.6 สมาชิกสามัญขอเข้าฟังการประชุมของคณะกรรมการได้ โดยได้รับอนุญาตจากประธานในที่ ประชุม
6.7 สมาชิกมีหน้าที่ป้ องกัน รักษาเกียรติของสมาคม และไม่กระทำการใดๆ อันนำมาซึ่งความ เสียหายแก่มวลสมาชิกและสมาคม
6.8 สมาชิกสามัญมีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย 1 ใน 7 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดร้องขอต่อ คณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
6.9 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่างๆ ของสมาคม
6.10 มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคม ได้จัดให้มีขึ้น
6.11 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคม ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
หมวดที่ 5 การขาดจากสมาชิกภาพ
ข้อ 7
การขาดจากสมาชิกภาพ
สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังนี้
7.1 ตาย
7.2 ลาออก โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงคณะกรรมการ
7.3 ขาดคุณสมบัติของการเป็นสมาชิกของสมาคมตามข้อ 5.1 ให้ลบชื่อออกจากทะเบียนได้
7.4 ต้องคำพิพากษาของศาลให้เป็นบุคคลสาบสูญ
7.5 ละเมิดระเบียบหรือข้อบังคับของสมาคม โดยเจตนาประพฤติผิดจรรยาบรรณและศีลธรรม อันนำความเสียหายมาสู่สมาคมและมวลสมาชิกฯ โดยทั่วไปอย่างร้ายแรง และที่ประชุมใหญ่ สมาคมลงมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3ใน 4 ของที่ประชุมใหญ่ ของสมาคม
7.6 ขาดการชำระค่าบำรุงโดยที่เหรัญญิกได้เตือนเป็นลายลักษณ์อักษร แล้ว 3 ครั้ง
หมวดที่ 6 คณะกรรมการบริหาร
ข้อ 8
การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ให้อยู่ภายใต้การอำนวยการของคณะกรรมการ ซึ่งมี จำนวนไม่ต่ากว่า 15 คน (และไม่เกิน 17 คน)
8.1 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกกว่า “คณะกรรมการ” มีหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ซึ่งประกอบด้วย
      8.1.1 นายกสมาคม
      8.1.2 อุปนายก
      8.1.3 เลขาธิการ
      8.1.4 เหรัญญิก
      8.1.5 ประธานฝ่ายวิชาการ
      8.1.6 ประธานฝ่ายวิจัย
      8.1.7 กรรมการกลางอื่นๆ อีกไม่ต่ากว่า 9 คน
หมวดที่ 7 การเลือกตั้งและการขาดจากตำแหน่งคณะกรรมการ
ข้อ 9
9.1 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำนวนอย่างน้อย 11 คน อย่างมากไม่เกิน 17 คน คณะกรรมการ จำนวน 11 คน ได้มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก สามัญ การเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบของสมาคม และให้คณะกรรมการ ที่ได้รับเลือกตั้ง ทั้งหมดเลือกตั้งกันเองเป็นนายกสมาคม 1 คน และให้คณะกรรมการ ที่ได้รับเลือกตั้งพิจารณา แต่งตั้งสมาชิกสามัญอื่นให้เข้าร่วมดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ ได้อีกจำนวน ไม่เกิน 6 คน
9.2 นายกสมาคม และคณะกรรมการ ต้องเป็นสมาชิกสามัญ
9.3 คณะกรรมการ อยู่ในตำแหน่งวาระละ 2 ปี ถ้าตำแหน่งใดว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึง คราวออกตามวาระให้คณะกรรมการเลือกสมาชิกสามัญผู้หนึ่งผู้ใด ที่เห็นสมควรเข้าเป็น กรรมการ แทนตามจำนวนที่ขาด แต่กรรมการที่เข้ามารับตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เพียง เท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทนเท่านั้น การเริ่มวาระใหม่ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ และ แต่ละชุดจะหมดวาระในวันที่ 31 มกราคม และให้คณะกรรมการรับส่งมอบงานกันให้เสร็จ สิ้นก่อนวันที่ 31 มกราคม หลังวันเลือกตั้ง
9.4 นายกสมาคม ดำรงตำแหน่งโดยวิชาชีพ ตามวาระ 2 ปี สลับกันตามลำดับ ระหว่างสูติแพทย์ กุมารแพทย์และพยาบาล หรือตามความเหมาะสมของคณะกรรมการ ในวาระนั้น ๆ
9.5 ที่ประชุมใหญ่สมาคม อาจมีมติถอดถอนกรรมการบริหารทั้งคณะหรือบางท่านได้โดยคะแนน 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุม
9.6 กรรมการแต่ละคนย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ เมื่อตาย หรือ ลาออก หรือ ถูกลบชื่อออก จากทะเบียนสมาชิกสมาคม
9.7 การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ กรรมการ ทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับ มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
9.8 ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ 9.7 ได้ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมี ประชุมไม่ต่ากว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยต้องมีกรรมการดำรงตำแหน่ง อย่างน้อย 3 ตำแหน่ง คือ 1. นายก หรือ อุปนายก 2.เลขาธิการและหรือผู้ช่วยเลขาธิการ และ 3. เหรัญญิก หรือผู้แทนเหรัญญิก
9.9 ตำแหน่งนายกสมาคม เลขาธิการ และเหรัญญิก ให้ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
9.10 ให้มีการประชุมคณะกรรมการ อย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง นายกสมาคมหรือกรรมการบริหาร ฯ ตั้งแต่ 4 ท่านขึ้นไป อาจเรียกประชุมกรรมการ ได้เมื่อเห็นสมควร
หมวดที่ 8 หน้าที่และอำนาจคณะกรรมการบริหาร
ข้อ 10
ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการและบริหารกิจการตามวัตถุประสงค์ของ สมาคม โดย
10.1 มีสิทธิและอำนาจตราระเบียบขึ้นใช้ โดยไม่ขัดแย้งต่อวัตถุประสงค์และข้อบังคับของสมาคม
10.2 ตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการ ตั้งอนุกรรมการ แต่งตั้งบรรจุและถอดเจ้าหน้าที่ของสมาคม
10.3 นายกสมาคม มีหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมและหัวหน้ารับผิดชอบในการบริหารกิจการของ สมาคม ตามมติคณะกรรมการ
10.4 อุปนายก มีหน้าที่ช่วยนายกฯ และทำหน้าที่บริหารงานแทนเมื่อนายกไม่อยู่หรือเมื่อได้รับ มอบหมาย
10.5 เลขาธิการ
      10.5.1 มีหน้าที่ในการติดต่อและรักษาระเบียบทั่วไป
      10.5.2 มีหน้าที่เป็นผู้นัดและจัดการประชุมของคณะกรรมการ
      10.5.3 มีหน้าที่เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมและติดตามผลงานของคณะกรรมการ ทุกท่าน
      10.5.4 มีหน้าที่เป็นผู้เสนอรายงานแสดงกิจกรรม กิจการ และกิจธุระของสมาคม ต่อที่ประชุม ใหญ่สมาคม
10.6 เหรัญญิก มีหน้าที่ รับ-จ่าย บริหารจัดการและรักษาเงินทองของสมาคม ทำตามบัญชีงบดุล
และควบคุมการใช้จ่ายตามงบประมาณประจำปีที่ได้รับอนุญาต และเป็นผู้เสนอรายงานการเงิน ของสมาคม ต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี บัญชีงบดุลต้องมีรายการย่อแสดงจำนวน ทรัพย์สินและหนี้สินของสมาคม และต้องทำทุกรอบ 1 ปี
10.7 ประธานฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการทางวิชาการต่างๆ รวมทั้ง การศึกษาต่อเนื่องให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ตามนโยบายของคระกรรมการ
10.8 ประธานฝ่ายวิจัย มีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมที่จะได้รับทุนวิจัยสมาคม และทุน เดินทางไปเสนอผลงานต่างประเทศ
10.9 กรรมการกลาง มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกสมาคม และ/หรือ คณะกรรมการ มอบหมายตามที่สมาคม กำหนด
10.10 ที่ปรึกษา และอนุกรรมการฝ่ ายต่างๆ อดีตนายกสมาคม ทุกคนเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ และมีหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกิจการทั้งในภาควิชาการและกิจกรรมของสมาคม
อนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่คณะกรรมการ แต่งตั้งขึ้น มีหน้าที่ดำเนินกิจการไปตามที่ คณะกรรมการ มอบหมายและให้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระของคณะกรรมการ ในการประชุมกรรมการ ให้เชิญที่ปรึกษา และ/หรืออนุกรรมการเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
หมวดที่ 9 การประชุมของสมาคม
ข้อ 11
การประชุมใหญ่
11.1 ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละครั้ง เพื่อแสดงกิจการที่ได้กระทำในรอบปีบัญชีงบ ดุล แต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี ปรึกษาหารือกิจการของสมาคม และประกาศการเลือกตั้ง คณะกรรมการ ตามวาระ
11.2 การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจมีขึ้นเพื่อการใดๆ ซึ่งคณะกรรมการ เห็นสมควรหรือสมาชิก สามัญไม่น้อยกว่า 1 ใน 7 ร่วมกันยื่ นลายลักษณ์อักษร (คำร้อง) ต่อนายกสมาคม ในคำร้อง ต้องแสดงเหตุผลและระบุหัวข้อการประชุมด้วย และให้นายกสมาคม หรือเลขาธิการมีหน้าที่ เรียกประชุมภายใน 30 วัน โดยจัดส่งระเบียบวาระให้สมาชิกทราบถึงกําหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน (ทำการ) และต้องมีสมาชิก สามัญมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงเป็นองค์ประชุม
11.3 ประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือ วิสามัญ ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง 1 ใน 7 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่องค์ประชุมวิสามัญไม่ครบ องค์ประชุมในขยายเวลาออกไป เมื่อครบกำหนดที่ขยายออกไปแล้ว ให้ดำเนินการประชุม ต่อไปได้ ยกเว้นในการประชุมสามัญให้งดไปเลย ถือว่า เป็นองค์ประชุมได้ในครั้งที่ 2
11.4 ถ้านายกสมาคม เป็นประธานแห่งที่ประชุม ถ้านายกไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ให้อุปนายก เป็นประธานแทน ถ้าอุปนายกไม่สามารถประชุมได้ ให้ที่ประชุมเลือกสมาชิกสามัญ 1 คน ทำ หน้าที่ประธานแห่งที่ประชุม
หมวดที่ 10 การเงินและการบัญชีของสมาคม
ข้อ 12
การเงินและการบัญชีของสมาคม
12.1 ให้คณะกรรมการ รับผิดชอบในบัญชีทรัพย์สิน การเงิน การธนาคาร และการบัญชีของ สมาคม โดยมีเหรัญญิกเป็นผู้เก็บรักษาเงินของสมาคม และมีผู้ตรวจสอบบัญชี 1 คน ทำการ ถูกต้องตามหลักการบัญชี ให้เป็นการถูกต้องและทันตามเวลาเสมอ
12.2 เหรัญญิกรักษาเงินสดไว้ได้ไม่เกินจำนวนที่คณะกรรมการ กําหนดไว้ และเงินของสมาคม ต้องนำไปฝากธนาคาร สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ รับรองเพื่อหาดอกผล ในนามของ สมาคม
12.3 นายกสมาคม และ/หรือ อุปนายก และ/หรือเลขาธิการ 2 คน ร่วมกับเหรัญญิก เป็นผู้มีอำนาจ ลงนามลายมือชื่อในเช็คสั่งจ่ายได้ในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) พร้อม ประทับตราและเครื่องหมายสมาคม ถ้าเกินกว่านี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
12.4 ให้มีประชุมใหญ่สมาคม ลงมติแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบบัญชีให้เป็นไปตาม กฎหมาย
12.5 ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
หมวดที่ 11 การปรับเปลี่ยน แก้ไข ข้อบังคับ และการเลิกสมาคมฯ
ข้อ 13
การเลิกสมาคม
13.1 เว้นแต่โดยผลแห่งกฎหมาย การเลิกสมาคม ให้กระทำโดยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของสมาชิก ทั้งหมด
13.2 ทรัพย์สินที่เหลือจากการชำระบัญชีมีอยู่เท่าใด ให้ตกเป็นของนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ อย่างเดียวกันกับสมาคม หรือการกุศลอื่นตามมติที่ประชุมใหญ่สมาคม
13.3 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากที่ ประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือที่ประชุมใหญ่วิสามัญ โดยมติ 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิก สามัญที่มาประชุมและใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้จดทะเบียนแล้ว
หมวดที่ 12 เบ็ดเตล็ด
ข้อ 14
การจัดตั้งชมรมต่างๆ ภายใต้สมาคม
14.1 ชมรม หมายถึง “กลุ่มผู้สนใจวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่งทางด้านเวชศาสตร์ปริกําเนิด และ รวมตัวกันตั้งเป็นชมรม ภายใต้สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย”
14.2 วัตถุประสงค์
      14.2.1 เป็นตัวแทนของสมาคมเวชศาสตร์ปริกําเนิดแห่งประเทศไทย ในการติดต่อ หน่วยงานด้านวิชาการต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศตามที่สมาคม มอบหมาย
      14.2.2 เผยแพร่และส่งเสริมวิชาการแก่แพทย์และนักวิชาการหรือผู้สนใจในสาขาวิชาการที่ เกี่ยวข้องกับชมรม
      14.2.3 สร้างเสริมความร่วมมือ และความสามัคคีระหว่างนักวิชาการในชมรม
14.3 ระเบียบการก่อตั้งชมรม
      14.3.1 ต้องมีคณะกรรมการบริหารชมรม
      14.3.2 ต้องกรอกแบบฟอร์มขอก่อตั้งชมรมของสมาคมเวชศาสตร์ปริกําเนิดแห่งประเทศ ไทย และส่งให้เลขาธิการสมาคม เพื่อนำเข้าขออนุมัติต่อกรรมการ
      14.3.3 หากมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารชมรม ต้องยื่นเรื่องให้ทางสมาคม ทราบ โดยผ่านเลขาธิการสมาคม ทุกครั้ง
14.4 สมาชิกของชมรมต่างๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท
      14.4.1 สมาชิกสามัญ หมายถึง สมาชิกที่มีสิทธิเป็นกรรมการบริหารชมรม และต้องเป็น สมาชิกสามัญของสมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย ในสาขาวิชาการที่ เกี่ยวข้องกับสมาคม
      14.4.2 สมาชิกวิสามัญ คือนักวิชาการและประชาชนที่สนใจ สมาชิกนี้มีสิทธิ์ร่วมกิจกรรม ของชมรมแต่ไม่มีสิทธิ์เป็นกรรมการบริหารชมรม
      14.4.3 คุณสมบัติ วิธีการสมัครเป็นสมาชิก สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ตลอดจนการขาด สมาชิกภาพของสมาชิกสามัญให้ถือเช่นเดียวกับข้อบังคับของสมาคมเวชศาสตร์ปริ กำเนิดแห่งประเทศไทย หมวดที่ 3
14.5 การดำเนินงานของชมรม ให้มีคณะกรรมการบริหารชมรมคณะหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่บริหาร กิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของชมรม เรียกว่ากรรมการบริหารชมรม ประกอบด้วย กรรมการอย่างน้อย 4 คน คือ ประธาน เลขานุการ เหรัญญิก วิชาการ หรือจากการแต่งตั้งโดย สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย
14.6 การขาดจากตำแหน่งอำนาจและหน้าที่ของกรรมการบริหาร เจ้าหน้าที่ ตลอดจนการบริหาร ชมรม ให้ใช้ข้อบังคับหมวดที่ 8 ของสมาคมเวชศาสตร์ปริกําเนิดแห่งประเทศไทย การ เลือกตั้งและวาระสิ้นสุดให้เป็นไปตามวาระของกรรมการเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศ ไทย
14.7 การสนับสนุนของสมาคมเวชศาสตร์ปริกําเนิดแห่งประเทศไทย ต่อชมรมต่างๆ       14.7.1 ชมรมต่างๆ จะได้รับการสนับสนุนทางการเงินในการดำเนินกิจกรรมด้านวิชาการ ตามวัตถุประสงค์ของชมรม แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการบริหารของ สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย ก่อน
      14.7.2 ชมรมต่างๆ สามารถใช้สถานที่ วัสดุและอุปกรณ์ ตลอดเจ้าหน้าที่ของสมาคมเวช ศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย ได้ทั้งนี้เป็นเฉพาะกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของ ชมรมแต่ในกรณีอื่นๆ ควรได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของสมาคม ก่อน
      14.7.3 รายรับต่างๆ ที่เกิดจากกิจกรรมของชมรมภายใต้สมาคมเวชศาสตร์ปริกําเนิดแห่ง ประเทศไทย จะต้องนำเข้าสมาคม โดยทางสมาคม จะแยกบัญชีไว้ต่างหาก